วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 บทที่ 6    สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์


เครื่องฉายสไลด์

 

 เป็นเครื่องฉายวัสดุโปร่งใสระบบฉายตรง (Direct Projection) ประกอบด้วย แผ่นสะท้อนแสงโค้ง หลอดฉายมีกำลังส่องสว่างประมาณ 150-500 วัตต์ แผ่นกรองความร้อน เลนส์รวมแสงกลักใส่สไลด์เลนส์ฉายและพัดลมระบายความร้อนดังภาพด้านล่างแสดงส่วนประกอบต่างๆภายในเครื่องฉายสไลด์


  



เครื่องฉายชนิดนี้สามารถบรรจุสไลด์ได้ครั้งละหลาย ๆ ภาพลงในกล่องหรือถาดใส่สไลด์ ทำให้สะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องกังวลในเรื่องบรรจุสไลด์ที่ละภาพ สามารถเปลี่ยนสไลด์ได้โดยการกดปุ่มเปลี่ยนภาพที่เครื่องฉาย หรือควบคุมสไลด์ให้เดินหน้าหรือถอยหลังได้ในระยะไกล ๆ โดยใช้สายต่อจากเครื่องฉายหรือชนิดไม่ต้องใช้สาย บางเครื่องสามารถตั้งเวลาเพื่อเปลี่ยนสไลด์ได้โดยอัตโนมัติ และบางเครื่องสามารถปรับความชัดได้โดยอัตโนมัติ


กล่องใส่สไลด์ที่ใช้กับเครื่องฉายชนิดนี้มี 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะสี่เหลี่ยม เรียกว่า แมกกาซีน (Magazine) มีขนาดกว้างกว่าสไลด์เล็กน้อย ความยาวของกล่องสามารถบรรจุสไลด์ได้ประมาณ 30-40 ภาพ เมื่อนำไปบรรจุในเครื่องฉายจะอยู่ในแนวนอนตัวเลขบอกลำดับภาพจะอยู่ด้านบน
2. ลักษณะกลมหรือที่เรียกว่าถาดกลม สามารถบรรจุสไลด์ได้ประมาณ 80-140 ภาพ มีทั้งชนิดถาดกลมแนวนอน เรียกว่า เทค (Tray) และถาดกลมแนวตั้ง เรียกว่า โรตารี่ (Rotary) ดังภาพด้านล่าง




3. ชนิดมีจอและเครื่องเทปในตัว เครื่องชนิดนี้มีเครื่องเทปและจอขนาดประมาร 9" x 9" อยู่ในตัวสามารถฉายสไลด์ให้ปรากฎบนจอนี้พร้อมเสียงที่สัมพันธ์กับภาพได้โดยอัตโนมัติ ดังภาพด้านล่าง




4. ชนิดบันทึกเสียงบนกรอบสไลด์ ซึ่งเรียกว่า เครื่องฉายชนิดซาวน์ดออนสไลด์ (Sound on Slide Projector Recorder) สไลด์ที่ใช้ฉายกับเครื่องชนิดนี้มีกรอบขนาดใหญ่ฉาบด้วยสารแม่เหล็กโดยรอบสำหรับการบันทึกเสียงคำบรรยายประกอบสไลด์ภาพนั้น เครื่องฉายชนิดนี้ราคาสูง จึงไม่ค่อยนิยมใช้ดังภาพ







การใช้เครื่องฉายสไลด์
ในการใช้เครื่องฉายสไลด์เพื่อให้ได้ผลสมตามความมุ่งหมาย ควรดำเนินการ
ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. บรรจุสไลด์ลงในถาดกลมหรือกล่องสี่เหลี่ยมหรือกลักใส่ฟิล์ม โดยให้ด้านมันหันเข้าหาหลอดฉายและให้ภาพอยู่ในลักษณะหัวกลับ ด้านที่มันน้อยกว่าหรือด้านหลังสไลด์จะหันเข้าหาจอภาพ
2.นำถาดหรือกล่องหรือกลักที่บรรจุสไลด์เรียบร้อยแล้วใส่หรือวางบนเครื่องฉาย ถ้าเป็นชนิดถาดกลมแนวนอนให้หมายเลข 0 ที่ถาดใส่สไลด์ตรงกับเครื่องหมายในเครื่องฉาย แต่ถ้าเป็นถาดกลมแนวตั้งให้หมายเลข 1 ที่ถาดใส่สไลด์ตรงกับเครื่องหมายในเครื่องฉาย
3. เสียบปลั๊กไฟจากตัวเครื่องกับแหล่งจ่ายไฟ (บางเครื่องพัดลมจะทำงานทันที)
4. ปิดหรือหรี่ไฟในห้องฉาย
5. เปิดสวิตช์พัดลมและสิวตช์หลอดฉาย
6. ปรับความชัดและขนาดของภาพที่ปรากฏบนจอตามต้องการ
7.ปรับระดับสูงต่ำของภาพ พึงระวังภาพอาจผิดเพื้ยนเนื่องจากลำแสงจากเครื่องฉายไม่ตั้งฉากกับจอภาพ
8. เปลี่ยนสไลด์ภาพต่อไปตามลำดับ ถ้าเป็นเครื่องฉายชนิดธรรมดา เปลี่ยนภาพโดยดึงกลัก
ใส่สไลด์ออกทางด้านขวาของเครื่อง บรรจุสไลด์ภาพใหม่ลงไปแล้วผลักกลักนี้ไปในเครื่อง ก็จะได้
ภาพใหม่ปรากฏบนจอ ถ้าเป็นเครื่องชนิดอัตโนมัติเปลี่ยนภาพโดยกดปุ่มเปลี่ยนภาพที่เครื่องฉาย
หรืออาจใช้เครื่องบังคับสไลด์ (Remote Control) หรืออาจใช้การตั้งเวลาเพื่อเปลี่ยนสไลด์ภาพใหม่
9. เมื่อใช้สไลด์เสร็จแล้วควรปิดสวิตช์หลอดฉายทันที ปล่อยให้พัดลมทำงานต่อไปจนกว่า
หลอดฉายจะเย็นจึงเปิดสวิตช์พัดลม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น